วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

นิราศภูเขาทอง


ราศภูนิเขาทอง
มาถึงบางธรณีทวีโศก                             ยามวิโยคยากใจให้สะอื้น
โอ้สุธาหนาแน่นเป็นแผ่นพื้น                                  ถึงสี่หมื่นสองแสนทั้งแดนไตร
เมื่อเคราะห์ร้ายกายเราก็เท่านี้                              ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย 
 ล้วนหนามเหน็บเจ็บแสบคับแคบใจ                             เหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกาฯ
    ถึงเกร็ดย่านบ้านมอญแต่ก่อนเก่า                          ผู้หญิงเกล้ามวยงามตามภาษา
ทั้งเดี๋ยวนี้มอญถอนไรจุกเหมือนตุ๊กตา                                                    ผัดหน้าจับเขม่าเหมือนชาวไทย
โอ้สามัญผันแปรไม่แท้เที่ยง                                  เหมือนอย่างเยี่ยงชายหญิงทิ้งวิสัย
นี่หรือจิตคิดหมายมีหลายใจ                                ที่จิตใครจะเป็นหนึ่งอย่าพึงคิดฯ
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์                                  มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร                               จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒เรื่องพอใจให้สุข

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
จากบทเรียนภาษาไทย วิวิธภาษา เรื่อง พอใจให้สุข

คำสั่ง  ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
      ๑.    บทประพันธ์นี้แต่งขึ้นในขณะที่ผู้ประพันธ์อายุเท่าไร

                  ก.    ๑๖      ปี 
                  ข.    ๑๘      ปี           
                         ค.    ๒๐      ปี        
                  ง.    ๒๕      ปี        

       

     ๒.แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว  จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา”  

            คำว่า   “สกาวมีความหมายตรงกับข้อใด
                 ก. ขาว   สะอาด  
                 ข. ความรื่นเริง  
                 ค. ทำให้งาม  
                 ง. ดวงเดือน           

       ๓. ผู้แต่งบทประพันธ์พอใจให้สุขคือ

                 ก. ชมัยภร  แสงกระจ่าง   
                ข. ศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา  รักษมณี
                ค. ศาสตราจารย์กิตติคุณฐะปะนีย์   นาครทรรพ     
                ง. ศาสตราจารย์ ดร.อรรถ   นาครทรรพ

    .ถือสันโดษบำเพ็ญให้เด่นดี   ในสิ่งที่เราเป็นเช่นนั้นเทอญ”   

     คำประพันธ์นี้ตรงกับคำสอนในข้อใด    ของพระพุทธเจ้า
                ก.  เห็นกงจักรเป็นดอกบัว  
            ข. รู้เขารู้เราแล้วท่านจะสุข
            ค. จงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่   
            ง. รักดีหามจั่ว  รักชั่วหามเสา

  แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง   จงเป็นนางที่มิใช่ไร้ความดี”  

       สัมผัสบังคับของคำประพันธ์นี้คือ
            ก. นุช สุด  
            ข.  ใช่ ไร้  
            ค.  ที่ ดี 
            ง. (สะ)  อาง นาง

๖.  จากคำประพันธ์ข้อ ๔  คำว่า สันโดษ”  มีความหมายตรงกับข้อใด

            ก. ความมักน้อย       
            ข. ประพฤติปฏิบัติ    
            ค. ถือตัวหยิ่งในเกียรติของตนเอง

                 ง. ความรื่นเริง ความยินดี

    ๗.  “แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงศักดิ์ ……………………………….”  
      ควรเติมวรรคใดในคำประพันธ์ดังกล่าว
           ก. ก็จงเป็นวันแรมที่แจ่มจาง  
           ข. ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษา
           ค. จงพอใจจอมปลวกที่แลเห็น  
            ง. ถือสันโดษบำเพ็ยให้เด่นดี       

๘. แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง  จงเป็นนางที่มิใช่ไร้ความดี”  .

       สำนวนใดตรงข้ามกับคำประพันธ์นี้ มากที่สุด
          ก. เจอไม้งามยามขวานบิ่น   
          ข. กระดังงาลนไฟ
          ค. เรียบร้อยราวกับผ้าพับไว้  
          ง. สวยแต่รูปจูบไม่หอม

๙. จากคำประพันธ์ ข้อ ๘  สัมผัสพยัญชนะในข้อใดเป็นสัมผัสใน

         ก.  แม้ มิ  ,  สุด สะ(อาง)  
         ข. สุด สะ(อาง) , นาง นุช , ได้ ดี
         ค.  แม้ มิ,   นุช สุด   
         ง. แม้ มินุช นางได้ ดี


๑๐. ข้อใดมีความหมายเหมือนคำว่า นุช”  ใน แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง”  ทุกคำ

          ก.  อรไท  อนงค์  อาชา  อัสดร  
          ข. นารี   กัลยา  กัญญา  พารณ
          ค. อนางค์  พธู  กัลยา  กัญญา  
          ง. อรไทย  อิสตรี  สินธพ  นภา

comment