วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิวิธภาษาม.2เรื่องพอใจให้สุข

 ในบทที่9พอใจให้สุข
                                                               พอใจให้สุข
              แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม                       ก็จงยอมเพียงลดาขาว
แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว                            จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา         
                 แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงศักดิ์                        ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษา
แม้มิได้เป็นแม่น้ำแม่คงคา                              จงเป็นธาราใสที่ไหลเย็น
                 แม้มิได้เป็นมหาหิมาลัย                                จงพอใจจอมปลวกที่แลเห็น
แม้มิได้เป็นวันพระจันทร์เพ็ญ                        ก็จงเป็นวันแรมที่แจ่มจาง
                  แม้มิได้เป็นต้นสนระหง                            จงเป็นพงอ้อสะบัดไม่ขัดขวาง
แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง                                จงเป็นนางที่ไม่ใช้ไร้ความดี
                   อันจะเป็นสิ่งใดไม่ประหลาด                      กำเนิดชาติดีทรามตามวิธี
ถือสันโดษบำเพ็ญให้เด่นดี                                          ในสิ่งที่เราเป็นเช่นนั้นเทอญ

ข้อคิดจากเรื่อง                                                                                                                                                       
                      พอใจให้สุข     เป็นชื่อบทกลอนที่ศาสตราจารย์กิตติคุณฐะปะนีย์ นาครทรรพ                             
ประพันธ์ขึ้นพ.ศ.2428เมื่อมีอายุ18ปีเป็นกลอนสุภาพที่มีความยาว5บทเนื้อความเป็นคำสอน
ผู้หญิงให้มีความพอใจกับความเป็นกันเองตามกำเนิดและตามสภาพที่ตนเป็นแต่ที่สำคัญคือ
ต้องปฏิบัติตนเป็นคนเด่นในความ                                                                                                                                                                            
                      พอใจให้สุข        มีความหมายชัดเจนว่าความพอใจกับกำเนิดและฐานะของ                                            
ตนนั้นทำให้คนเป็นสุข  หากพิจารณาให้ชัดเจนว่าจุดมุ้งหมายของผู้ประพันธ์มิได้ให้พอใจ                
กับสภาพที่ดำรงอยู่ตลอดไปเท่านั้น  เพราะคำเปรียบที่ยกขึ้นในแต่ละวรรคให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน    
ว่า  ให้ตั้งใจพัฒนาตน ม่ชุ่งมั้น ไปสู่สิ่งที่สูงที่มีค่าหรือ ที่ยิ่งใหญ่กว่าที่เป็นอยู่  แต่ถ้าแม้ว่าเป็นไม่ได้ก็จงพอใจเท่าที่เราเป็นได้  และที่เราควรเป็นมากที่สุดคือ  ผู้มีความดี  และบำเพ็ญตน
ให้เด่นในความดี
                         ความรู้เรื่องกลอน   
          เชื่อกันว่า  กลอน  เป็นคำประพันธ์ที่คนไทยมีมาแต่เดิม  ชาวบ้านในภาคกลางและภาคใต้นิยมแต่งกลอนเป็นบทร้องเล่น  บทกล่อมเด็ก  และเพลงพื้นบ้านต่างๆ กลอนมีพัฒนาการมาเป็นลำดับจนมีข้อบังคับทางฉันลักษณ์ที่แน่นอนในปัจจุบัน เป็นคำประพันธ์ ที่บังคับจำนวนคำ จำนวนวรรค สัมผัส และเสียงวรรณยุกต์ กลอนมีประเภทย่อยซึ่งมีชื่อต่างกันไปตามลักษณะย่อย ช่น กลอนแปด กลอนหก กลอนสี่ กลอนสักวา กลอนดอกสร้อย กลอนบทละคร  เป็นต็น  บทกลอนเรื่อง  พอใจให้สุข  เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนแปด
               ลักษณะต่างๆของกลอน
๑)    บทและบาท
  กลอน ๑ บท มี ๒ บรรทัด  แต่ละบรรทัดเรียกว่า บาท หรือ  คำกลอน  บาทที่๑ของกลอน  เรียกว่า บาทเอก ส่วนบาทที่สองเรียกว่าบาทโท  กลอนบาทหนึ่งมี  ๒ วรรค
กลอนบทหนึ่งจึงมี  ๔วรรค

 แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม        ก็จงยอมเป็นเพียงลดดาขาว    (บาทเอก)
แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว           จงเป็นดาวดวงแจ่มแอน่มตา    (บาทโท)
           
๒)จำนวนวรรค
      กลอน  ๑บท มี ๔วรรค  แต่ละวรรคมีชื่อดังนี้วรรคที่๑เรียกว่า  วรรคสดับ     วรรคที่๒เรียกว่วรรคับ                                                                                                                                                    
วรรคที่๓เรียกว่า   วรรครอง      วรรคที่๔เรียกว่าวรรคส่ง                                                                                                                                                                                      
เช่น                                                                                                                                 
แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงสักดิ์(วรรคสดับ)         ก็จงรักเป็นดนรีที่หรรษา(วรรครับ)                                                                                                                             
แม้ไม่ได้เป็นแม่น้ำคงคา(วรรครอง)              จงเป็นธาราที่ไหลเย็น   (วรรคส่ง)                                                                                                                                                  
                              ๓)จำนวนคำและจังหวะการอ่าน                                                                                                                                  
                            คำว่า  คำ  ในกลอนมีความหมายเฉพาะ   หมายถึง   จำนวนพยางค์ในแต่ละวรรคเช่นกลอนหกคือกลอนที่กำหนดให้วรรค๑มี๖คำหรือหกพยางค์กลอนแปด  คือ  กลอนที่กำหนดให้วรรคหนึ่งมี๘คำหรือแปดพยางค์ในกลอนบทละคร  คำ  ยังมีอีกความหมายหนึ่ง  หมายถึงบาทหรือคำกลอน                                             
๔)สัมผัส                                                                                                                                                    
คำว่าสัมผัส   ในคำประพันธ์หมายถึงคำ๒คำ(หรือ๒พยางค์)ที่มีเสียงสระเสียงเดียวกัน ตา- หรรษา  หิมาลัย-พอใจ  วิถี-เด่นดี-ที่  หรือคำ๒คำที่ประสบกับเสียงสระและเสียงสะกดแม่เดียวกัน  เช่น  หอม-ยอม ขาว-สกาว-ดาว  แจ่ม-แอร่ม  ศักดิ์-รัก ขัดขวาง-สะอาง สัมผัสแบบนี้เรยกว่า สัมผสสระ
       ในคำประพันธ์มีสัมผัสอีกแบบหนึ่งเรียกว่า สัมผัสพยัญชนะ หมายถึงคำ2 คำหรือหลายคำที่มีเสียงพยัญชณะต้นเป็นเสียงเดียวกัน  เป็นลักษณะที่กวีมักใช้เพื่อเพิ่มความไพเราะให้แก่บทกลอน  ไม่ใช้สัมผัสบังคับ   สัมผัสพยัญชณะอาจปรากฏในวรรคเดียวกันหรือต่างบทก็ได้ เช่นลางลิงลิงลอดเลี้ยวลางลิงแลลูกลิงชิงลูกไม้                                                                                                                                                        
              สัมผัสในบทกลอนมีทั้งสัมผัสบังคับและสัมผัสไม่บังคับ                                                                        
                                                                                                                                                                             
        สัมผัสบังคับมี๒ประเภทคือสัมผัสนอก กับสัมผัสระหว่างบท                                                                                
           สัมผัสนอกคือสัมผัสสระของคำที่อยู่ต่างวรรคกัน  กลอนบทหนึ่งๆมีสัมผัสนอกบังคับ๓แห่งคือ                    
                     แห่งที่๑คำสุดท้ายของววรรคสดับ(วรรคที่๑)สัมผัสกับท้ายของช่วงที่๑หรือ๒ในวรรครับ(วรรคที่๒)                                                                                                                                                            
                                                                                                                                                                                   
                  แห่งที่๒คำสุดท้ายของวรรครับ(วรรคที่๒)  สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครอง   (วรรคที่๓)แล้วส่งต่อไปวรรคที่๓
               

                            สัมผัสระหว่างบท  คือ   สัมผัสสระที่ส่งต่อจากคำสุดท้ายของบทไปยังคำสุดท้ายในวรรครับ    (วรรคที่๒)   ขิองบทถัดไป     ชึ้งสัมผัสที่ทำให้กลอนเชื่อมต่อกันโดยตลอด                                        
                                                                                                                                                                         
              สัมผัสไม่บังคับ  คือ    สัมผัสสระหรือสัมผัสพยัญชณะที่อยู่ในแต่ละวรรคเพื่อเพิ่มความไพเราะให้แก่บทกลอน                                                                                                                                                        
                                                                                                                                                                               
                                                                                                                                                                                       
           ๕)ข้อควรระหว่างในการแต่งกลอน                                                                                                            
                                                                                                                                                                                               
              ก.เสียงวรรณยุตย์
     
     ฉันทลักษณ์กลอนไม่มีขอกำหนดเรื่องวรรณยุกต์  แต่มีข้อสังเกตว่า หากมีขอกำหนดคำที่มีเสียงวรรณ์ยุกค์ได้ตามที่แนะนำนี้  กลอนจะไฟชพเราะ  หากใช้เสียงที่ไม่แนะนำ กลอนจะฟังประหลาดแลไม่เป็นกลอน ดังนี้
                                                                                                                                                                               
                     คำท้ายวรรคที่๑   ใช้เสียงวรรณยุตย์ใดก็ได้                                                                          
                                                                                                                                                                                                     
                      คำท้ายวรรคที่๒   ใช้เสียงวรรณยูตย์เอก  โท  หรือจัตวาไม่ใช้เสียงวรรณยุตญ์เอกโทหรือจัตวาและไม่ใช้  เสียงวรรณยุกต์ช้ำกับเสียงวรรณยุกย์สามัญหรือเสียงตรี                                                        
                                                                                                                                                                             
                          คำท้ายวรรคที่๓ใช้เสียงวรรณยุกต์หรือตรีไม่ใช้เสียงวรรณยุกต์เอก โท หรือจัตวา และ ไม้ใช้เสียงวรรณยุกต์ช้ำกับเสียงวรรณยุกต์ของคำท้ายวรรคที่๒                                                                                
                                                                                                                                                                         
                       คำท้ายวรรคที่๔ใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญหรือตรีไม่ใช้เสียงวรรณยุกต์เอก โท  หรือจัตวา                  
                                                                                                                                                                                                           
                 ข.สัมผัส

   ๑สัมผัสช้ำเสียงคือรับและสัมผัสด้วยคำที่ออกเสียงเหมือนกัน                              


   ๒สัมผัสเลือน  คือ  รับและส่งด้วยเสียงสระสั้นยาวต่างกัน


               ๓ชิงสัมผัส  คือ  ใช้เสียงส่งสัมผัสก่อนต่ำแหน่งที่รับสัมผัสจริง

                 ตัวอย่างเช่น   แต่งคำกลอนว่า
 
          แต่งคำกลอนบอกแจ้งความในใจ      ที่มีไว้เพื่อให้เธอเล็งเห็น
         แม้จะเขียนให้อ่านแล่นก็อยากเย็น     พี่ไม่เว้นพารเพียรเขียนเพื่อเธอ
  คำที่ส่งสัมผัสในวรรคที่๑  คือใจส่งไปให้รับสัมผัสกับคำที่๕ในวรรคที่๒ คือ ให้แต่มีคำว่าไว้ มาชิงสัมผัสก่อน
          และคำส่งสัมผัสในวรรคที่๒ ว่าเห็นส่งสัมผัสไปคำสุดท้าย วรคที่๓คือ เย็ฯ แต่มีคำว่าเล่น มาชิงสัมผัสก่อน ทำให้กลอนไม่เป็นกลอนควรแก้เป็น

                แต่งคำกลอนบอกความในใจ             ที่ร้อนรุ่มเพื่อให้เธอเล็กเห็น                            

               แม้จะเขียนลำบากแสนอยากเย็น          พี่ไม่เว้นพากเพียรเขียนเพื่อเธอ                                                                                                                                                                
                                                                                                                                                                                           
      กลอนประเภทต่างๆ


      ๑กลอนเเปด

              กลอนแปด  อาจเรียกว่า   กลอนสุภาพ  หรือกลอนตลาดก็ได้ ถ้าแต่งเป็นเรื่องนิทานเพื่ออ่านเล่น  ก็เรียกว่ากลอนนิทาน  เช่นเรื่องโคบุตร  พระอภัยมณี                                    
 
            นิราศบาทขึ้นต้นว่า                              

                                          โอ้อาลัยใจหายเป็นห่วงหวง
       ดังศรศักดิ์ปักซ้ำระกำทรวงเสียดายดวงจันทราพะงางาม
เจ้าคุมแค้นแสนโกรธพิโรธพี่แต่เดือนยี่จนย่างเข้าเดือนสาม
จนพระหน่อสุริย์วงศ์ทรงพระนามจากอารามแรมร้างทางกันดาร
ด้วยเรียมรองมุลิกาเป็นข้าบาทจำนิราศร้างนุชสุดสงสาร
ตามเสด็จเสร็จโดยแดนกันดารนมัสการรอยบาทพระศาสดา ๚
         สุภาษิตสอนหญิง ขึ้นต้นว่า

                                                                          ประนมหัตถ์นมัสการขึ้นเหนือเศียร

               ต่างประเทียบโกสุมประทุมเทียน        จำนงเนียนนบบาทพระศาสดา

       กลอนเพลงยาวขึ้นต้นว่า      

                                                                                            เสียแรงหวังใจมุ่งผดุงหวัง
       
ไม่ควรชังฤามารานพานชิงชัง                                              เออเป็นใจเออใครมั่งไม่น้อยใจ


        ๒กลอนหก

      กลอนหกคือกลอนที่แต่งแต่ละวรรคมีจำนวน๖คำหรือ๖พยางค์
               
             
                   ความดีมีอยู่คู่ชั่ว               ติดตัวกลั้วอิงอาศัย
                  ทำดีดีช่วยอวยชัย            ทำชั่วชั่วให้ใจตรม
                  ผลดีนี้นำความสุข             ผลชั่วกลั้วทุกข์ทับถม
                  ดีเด่นเห็นผลชนชม           ชั่วช้าพาจมตรมตรอม
                                                            กำชัย ทองหล่อ
                                                     
                                                             
          ๓กลอนสี่

          กลอนสี่
คือกลอนที่มีวรรค๔คำจังหวะช่วงละ๒คำ      สัมผัส  อนุโลมตามแบบกลอนแปด  เช่น


วันว่างห่างงาน    รำคาญยิ่งนัก

อยู่บ้านผ่อนพัก       สักนิดผ่อนคลาย

๐ หยิบหนังสืออ่าน     ผ่านตาดีหลาย

กลอนสี่ท้าทาย        หมายลองเขียนดู

๐ หากท่านใดว่าง     ร่วมทางฝึกรู้
กลอนได้เชิดชู        อยู่อย่างมั่นคง
๐ เสียงไม่บังคับ      จับสัมผัสส่ง
สี่คำเจาะจง          ลงมือกันเลย.


           ๔กลอนสักวา

            กลอนสักวาคือกลอนที่ใช้ในการเล่นสักวา  ชึ่งเป็นการแต่งกลอนสดแล้วร้องเป็นเพลงโต้ตอบหรือต่อเนื่องกันเรื่องตามที่ได้ตกลงกัน  เช่นการเล่นสักวาเรื่องสังข์ทอง ตนมณทาลงกระท่อมต้องมีผู้แต่งกลอนเป็นบทท้าวสามนต์ เป็น

    กลอนสักวา 1 บทมี 4 คำกลอนหรือ 4 วรรค วรรคแรกหรือวรรคขึ้นจะต้องขึ้นต้นบทด้วยคำว่า " สักวา " และวรรคสุดท้ายหรือวรรคส่งจะต้องลงท้ายด้วยคำว่าเอย ส่วนวรรคที่ 2-3 คือวรรครับและวรรครองนั้น ไม่บังคับตัวอักษร แต่ต้องมีสัมผัสระหว่างวรรคทั้ง 4 อย่างลัษณะของกลอนทั่วไป

สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสนไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอมอาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้มดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
       

     ๑.กลอนดอกสร้อยบทหนึ่งมี
     ๔ คำกลอน หรือ ๘ วรรค 
      วรรคหนึ่งใช้คำ ๖-๘ คำ๒. วรรคแรกที่ขึ้นต้น
    โดยมากมี ๔  คำ  คำที่ ๑
    กับคำที่ ๓ ต้องซ้ำคำเดียว
    กัน  คำที่ ๒ ค้องเป็นคำว่า 
  " เอ๋ย" ส่วนคำที่ ๔  เป็น
     คำอื่นที่รับกัน เช่น 
     นักเอ๋ยนักเรียน
     เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
๓.กลอนดอกสร้อยจะต้อง
    ลงท้ายด้วยคำว่า"เอย"เสมอ 
     แต่ถ้าเป็นกลอนดอกสร้อย
     ในบทละครไม่ต้องลงท้าย
      ด้วยคำว่าเอย
๔.สัมผัสและลักษณะไพเราะ
    อื่นๆเหมือนกลอนสุภาพ          


ความรู้
ความเอ๋ญความรู้
ทุกอย่างอาจเป็นครูหากศึกษา
เห็นสิ่งใดใช้สมองลองปัญญา
ใคร่ครวญหาเหตุผลจนแจ้งใจ
อันความรู้เรียนเท่าไหร่ก็ไม่จบ
ยิ่งค้นพบก็ยิ่งมีที่สงสัย
ใช้ความรู้ผิดทางสร้างทุกข์ภัย
รู้จักใช้ทำประโยชน์สุขโสตย์เอย



กลอนบทละคร
        กลอนบทละคร คือคำกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อแสดงละครรำ เช่น  พระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์, พระราชนิพนธ์  บทละครเรื่องอิเหนา เป็นต้น
        กลอนบทละครมีลักษณะบังคับเช่นเดียวกับกลอนสุภาพ วรรคหนึ่งมี 6 ถึง 9 คำ แต่นิยมใช้เพียง 6 ถึง 7 คำจึงจะเข้าจังหวะร้องและรำทำให้ไพเราะยิ่งขึ้น กลอนบทละครมักจะขึ้นต้นว่า  เมื่อนั้น  สำหรับตัวละครที่เป็นกษัตริย์หรือผู้มีบรรดาศักดิ์สูง   บัดนั้น  สำหรับตัวละครที่เป็นเสนาหรือคนทั่วไป    มาจะกล่าวบทไป  ใช้สำหรับนำเรื่อง  เกริ่นเรื่อง

  

















                     
                                                                                                                                                                                        

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันวิสาขบูชา

                                                 
วันวิสาขบูชา
     ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖   วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
     ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด  ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ  ได้ปรินิพพาน คือดับขันธ์ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราว คือ    

๑. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี


      ๒. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

     ๓. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ ๔๕ ปี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
     นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖  ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย
   วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐ พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่
   สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
   ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ต ลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
   ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ ๔ เท้า ๒ เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "
   ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๖๐) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๓๖๐ และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เญ็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
   ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
   การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.๒๕๐๐ ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๘ พฤษภาคม รวม ๗ วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามศรัทธาตลอดเวลา ๗ วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม ๒,๕๐๐ รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๔ พฤษภาคม รวม ๓ วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ ๒,๕๐๐ รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ ๒๐๐,๐๐๐ คน เป็นเวลา ๓ วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย
ห ลั ก ธ ร ร ม ส ำ คั ญ ที่ ค ว ร น ำ ม า ป ฏิ บั ติ
๑. ค ว า ม ก ตั ญ ญู คือความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว่ก่อน เป็นคุณธรรมคู่กับความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น
บิดามารดา มีอุปการคุณแก่ลูก ในฐานะผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบโต ให้การศึกษาอบรมสั่งสอน ให้เว้นจากความชั่ว มั่นคงในการทำความดี เมื่อถึงคราวมีคู่ครองได้จัดหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ และมอบทรัพย์สมบัติให้ไว้เป็นมรดก
ลูกเมื่อรู้อุปการะคุณที่บิดามารดาทำไว้ ย่อมตอบแทนด้วยการประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียงให้ แก่วงศ์ตระกูล เลี้ยงดูท่าน และช่วยทำงานของ ท่าน และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน
ครูอาจารย์มีอุปการคุณแก่ศิษย์ ในฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้ ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี สอนศิลปวิทยาให้อย่างไม่ปิดบังยกย่องให้ปรากฎแก่คนอื่น และช่วยคุ้มครองให้ศิษย์ทั้งหลาย
ศิษย์เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ทำไว้ ย่อมตอบแทนด้วยการตั้งใจเรียน ให้เกียรติ และให้ความเคารไม่ล่วงละเมิดโอวาทของครู
ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ ถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนดี ส่งผลให้ครอบครัว และสังคมมีความสุขได้เพราะ บิดามารดาจะรู้จักหน้าที่ของตนเอง ด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน และลูกก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทน
นอกจากบิดากับลูก และครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว คุณธรรมข้อนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้าง อันจะส่งผลให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
ในทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้า ทรงเป็นบุพการรีในฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนา และทรงสอนทางพ้นทุกข์ให้แก่เวไนยสัตว์
พุทธศาสนิกชน รู้พระคุณอันนี้จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชาและปฎิบัติบูชากล่าวคือการจัดกิจกรรม ในวันวิสาขบูชา เป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวที ต่อพระองค์ด้วยการทำนุ บำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และประพฤติปฎิบัติธรรม เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาสืบไป
๒. อ ริ ย สั จ ๔
อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึงความจริงของชีวิตที่ไม่ผันแปร เกิดมีได้แก่ทุกคน มี ๔ ประการ คือ
ทุกข์ ได้แก่ปัญหาของชีวิตพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ก็เพื่อให้ทราบว่ามนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกัน ทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐาน และทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกข์ขั้นพื้นฐานคือทุกข์ที่เกิดจาก การเกิด การแก่ และการตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือทุกข์ที่เกิด จากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการประสบกันสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ตั้งใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ อาทิความ ยากจน
สมุทัย คือ เหตุแห่งปัญหาพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมดซึ่งเป็นปัญหา ของชีวิตล้วนมีเหตุให้เกิดเหตุนั้น คือ ตัญหา อันได้แก่ความอยากได้ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่น
นิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์คือปัญหาของชีวิต ทั้งหมดที่สามารถแก้ไข ได้นั้นต้องแก้ไขตามทางหรือวิธีแก้ ๘ ประการ ( ดูมัชฌิมาปฎิปทา )
มรรค การปฏิบัติเพื่อจำกัดทุกข์ เพื่อหลุดพ้นจากทุกข์ การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา เพื่อบรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาที่ต้องการ
๓. ค ว า ม ไ ม่ ป ร ะ ม า ท
ความไม่ประมาทคือ การมีสติเสมอทั้ง ขณะทำขณะพูด และขณะคิด สติคือการระลึกได้ ในภาคปฎิบัติเพื่อนำ มาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึง การระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหว ของอริยาบท ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน การฝึกให้เกิดสติทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวของอริยาบท กล่าวคือ ระลึกทันทั้งในขณะ ยืน เดิน นั่ง และนอน รวมทั้ง ระลึกรู้ทัน ในขณะพูดคิด และขณะทำงานต่างๆ เมื่อทำได้อย่างนี้ก็ชื่อว่า มีความไม่ประมาท
การทำงานต่างๆ สำเร็จได้ก็ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือผู้ทำย่อมต้องมีสติระลึกรู้อยู่ว่า ตนเองเป็นใครมีหน้าที่อะไร และกำลังทำอย่างไร หากมีสติระลึกรู้ได้อย่างนั้น ก็ย่อมไม่ผิดพลาด


comment